Karate

-เกร็ดเล็กๆ น้อยๆ จากการฝึกคูมิเต

-ปัจจัยหลัก 10 ข้อที่นำไปสู่แชมป์กาต้า

เกร็ดเล็กๆ น้อยๆ จากการฝึกคูมิเต้

1. ระยะห่าง (Distancing)ระยะห่างในสไตล์โกจูริวนั้นค่อนข้างใกล้มากถ้าเทียบกับสไตล์อื่นๆ ในการต่อสู้ อย่างไรก็ตามมันก็ไม่ใช่ข้อเท็จจริงเสมอไป ระยะที่ดีที่สุด คือ ระยะที่ตัวเราคิดว่าสามารถที่จะทำคะแนนได้ โดยทั่วไปมีการแบ่งระยะได้ 2 แบบ คือ 1. ระยะที่อยู่ในตำแหน่งตั้งการ์ดป้องกัน (kamae) 2. ระยะที่อยู่ในตำแหน่งบุกและตั้งรับ (kobo) ในกรณีอื่น ระยะสามารถที่จะเปลี่ยนได้ในทันทีทันใด เพราะฉะนั้นจำเป็นมากที่ต้องอยู่ในภาวะที่จิตใจต้องสงบและมีความเชื่อมั่น รักษาระยะห่างภายใต้การควบคุม และนั่นก็หมายความว่าคุณต้องพร้อมที่จะต่อสู้กับศัตรู (ฝ่ายตรงข้าม) ได้ตลอดเวลา
2. ช่วงเวลา (Timing)นักคาราเต้ที่มีทักษะสูง จะต้องมีความสามารถอ่านการเคลื่อนไหวของคู่ต่อสู้ และฉวยโอกาสอันดีในช่วงเวลาอันน้อยนิดทำแต้มให้กับตนเอง ไม่ว่าจะเป็นการโจมตีหรือการตั้งรับ โดยการอ่านจิตใจฝ่ายตรงข้าม วิธีง่ายๆ ในการฝึก คือ ฝึกเดาทิศทางของเพื่อนคู่ฝึกซ้อม โดยอ่านจากการเคลื่อนไหวของเท้า ลำตัว มือ หรือแม้กระทั่งสายตาก็สามารถที่จะบ่งบอกอะไรได้

3. ความหนักแน่น (Decisive Technique)คิเมะ การใช้เทคนิคนี้ในการต่อสู้ ไม่ได้หมายถึงว่าต้องชกหรือเตะคู่ต่อสู้ให้เต็มที่ วิธีที่ให้ได้ผลดีที่สุด คือ การชกหรือเตะฝ่ายตรงข้ามด้วยความเร็วและแรงในครั้งเดียวแต่เราต้องสามารถควบคุมได้เมื่อถึงเป้าหมาย เป็นเทคนิคที่นักคาราเต้ชั้นสูงมักจะนำมาใช้กัน ควรจำไว้ว่าการคูมิเต้ต้องอยู่ภายใต้กฎกติกาของการแข่งขัน อย่างไรก็ตามผู้เข้าแข่งขันอาจเสี่ยงต่อการถูกลงโทษด้วยการทำฟาล์วเพราะว่าควบคุมน้ำหนักหมัดหรือการเตะของตัวเองไม่ได้ เพราะเทคนิคของตนเองยังไม่เพียงพอหรือสายต่ำเกินไป
4. ควบคุมตนเอง (Self-Control)หากคนสองคนนำเอาอารมณ์เข้ามาเกี่ยวข้องกับการคูมิเต้แล้ว ก็จะไม่ได้ประโยชน์อะไรเลยจากการฝึกซ้อม คุณจะต้องให้เกียรติเคารพในคู่ฝึกซ้อม ควบคุมอารมณ์ ควบคุมการชก การเตะ ที่สำคัญที่สุดคือควบคุมความสง่างามของการต่อสู้คาราเต้ จำไว้ว่าแต่ละเทคนนิคที่ใช้ต่อสู้กับฝ่ายตรงข้าม ต้องอยู่ในความควบคุมของตัวผู้ใช้เอง

5. การส่งเสียงร้อง kiai (Shout)คิไอ หรือ การส่งเสียงร้อย เมื่อใช้ในการโจมตี เสียงนี้เกิดจากการสูดหายใจเข้าแล้วเปล่งจากท้องน้อย ด้วยการกระตุ้นกระบังลมโดยการหายใจออก การส่งเสียงร้องเวลาฝึกซ้อมนั้นมีส่วนช่วยกระตุ้นเอาอารมณ์และเรี่ยวแรงที่ซ่อนเร้นอยู่ภายในกายออกมาใช้ได้เหมือนกัน และที่สำคัญทำให้ตั้งใจซ้อมขึ้นอีกด้วย

6. จิตใจ (Mental Readiness)ไม่ใช่ความคิดที่ดีแน่ ที่จะพุ่งไปข้างหน้าเข้าหาคู่แข่งในสภาวะท้อแท้ หมดหวัง เหมือนกับว่าเตรียมตัวที่จะตายอย่างนั้น จำเอาไว้ว่าต้องตั้งการ์ดอยู่เสมอเมื่อต้องบุกเข้าหาคู่ต่อสู้ในสภาวะที่กดดัน เช่น ต้องเก็บอย่างน้อย 1 แต้มในเวลาที่เหลืออยู่เพียง 20 - 30 วินาที คุณต้องทำให้เหมือนกับว่าอยู่ในภาวะปกติ ทำให้มีความเชื่อมั่นกับเวลาที่รับกับความกดดัน ในทางตรงข้าม หากอยู่ในสภาวะที่เหนือกว่าคู่ต่อสู้ต้องไม่แสดงอาการอวดดี ทะนงตัวว่าเก่งกว่า ต้องเก็บระงับมันเอาไว้

7. สบตา (Eye Contact)พยายามสบสายตากับคู่แข่งฝ่ายตรงข้าม เพราะบางครั้งคุณสามารถมองทะลุถึงข้างใน ฝ่ายตรงข้ามได้ว่าเขาได้ว่า เขาอยู่ในสภาวะเช่นไร อารมณ์ไหน พร้อมที่จะรุก หรือ ไม่พร้อมที่จะสู้ได้ ไม่เพียงแค่สบตาเท่านั้น อาจจะต้องมองทั้งใบหน้า โดยการสังเกตุ ตา และปาก เช่น ถ้าเขาอ้าปาก หายใจแรงขึ้นก็แสดง ให้เห็นว่าเขาอ่อนเพลีย เหนื่อยอยู่ หรือถ้าสายตาเขาอยู่ในอาการประหม่าหรือกลัว เราต้องอาศัยช่วงได้เปรียบนี้จัดการฝ่ายตรงข้าม เห็นไหมบางทีการมองตาก็รู้อะไรได้หลายอย่างนะ

ที่มา : Goju-Ryu Karate a Visual Guide by Goshi Yamaguchi

ปัจจัยหลัก 10 ข้อที่นำไปสู่แชมป์กาต้า

1. Basics เรื่องเล็กน้อยที่เรามิอาจมองข้ามไปได้ไม่ว่าจะการชก การเตะ การปัดป้องและการก้าวเท้าจะต้องมีความเฉียบคมและรวดเร็วแต่แฝงไปด้วยพลังที่ซ่อนอยู่ภายใน

2. Stances ท่ายืนนั้นเปรียบเหมือนเป็นรากฐานของบ้านที่เราจะต้องสร้างด้วยความความแข็งแรงและจะต้องมั่นคงหากว่าฐานของเราไม่มีความแข็งแรงแล้วเราก็มิอาจสร้างบ้านที่ดีได้ เช่นเดียวกับการกระจายตัวน้ำหนักตัวสู่ด้านร่างให้ทั่วและเท้าก็ต้องอยู่ในแนวที่ถูกต้องเพราะท่าทางในการยืนนั้นก็สำคัญมากที่สุดในขณะที่แข่งขัน

3. Power แน่นอนที่สุดพละกำลังความแข็งแกร่งของกล้ามเนื้อบวกกับความฟิตของร่างกายย่อมเป็นสาเหตุหลักที่ง่ายต่อการตัดสินของกรรมการหากมีการเปรียบเทียบกันระหว่างผู้เข้าแข่งขันสองคน การเตะที่ดูรุนแรง การชกที่มีพลัง การปัดที่รวดเร็ว สิ่งเหล่านี้ล้วนจำเป็นมากเมื่ออยู่ในสนามแข่งขันที่ทำให้กรรมการเห็นชัด จำไว้ว่าการเตะเพียงแค่ระดับเอวที่ดูแล้วมีพลังย่อมดีกว่าการที่เตะสูงแต่ไร้พลังและประสิทธิภาพ

4. Balance ความผิดพลาดหลักๆที่เราสามารถพบเห็นได้เป็นประจำคือการสูญเสียความสมดุลทางร่างกายในขณะที่เคลื่อนไหว เช่น การหมุนกลับด้านตัวอย่างฉับพลัน การเตะแล้วชักเท้ากลับอย่างเร็ว การทรงตัวยืนขาเดียวและอื่นๆอีกมากมายที่เป็นสาเหตุ ดังนั้นจงระมัดระวังเรื่องการทรงตัวรักษาสมดุลเพื่อแสดงให้กรรมการเห็นว่าเราสามารถที่จะควบคุมร่างกายให้อยู่ในแนวที่ถูกต้องได้

5. Speed ความรวดเร็วและความคล่องตัวหลายอย่างไม่ว่าจะเป็นการชก การเตะหรือการปัดนั้นย่อมมีส่วนสร้างความพึงพอใจให้แก่กรรมการผู้ตัดสินแต่ก็ไม่เสมอไปเพราะบางกาต้าหรือท่ารำย่อมต้องการความอ่อนช้อย ดังนั้นจึงจะต้องดูกาต้าที่แสดงอยู่ว่าเหมาะสมหรือไม่กับใช้แข่งขัน การเตะหรือการชกจังหวะเดียวที่รวดเร็วแล้วเว้นช่วงระยะหนึ่งแล้วทำการต่อเนื่องอย่างทันทีย่อมดีกว่าการที่แสดงรวดเร็วจบเพราะอาจจะเป็นสาเหตุที่ทำให้เราสูญเสียการทรงตัวได้

6. Movement การเคลื่อนไหวของร่างกายที่จะต้องราบเรียบสม่ำเสมอไม่ติดขัด พริ้วไหวในขณะที่แสดงอยู่ ข้อนี้ก็เป็นเรื่องสำคัญมากเพราะจะต้องมีองค์ประกอบด้วยในการเลือกท่าที่ใช้ในการแข่งขันเพราะการเลือกท่าที่ยากต่อการเคลื่อนไหวตัวแล้วย่อมได้เปรียบกว่าและมีโอกาสที่จะได้คะแนนสูงโดยเฉพาะท่าที่จะต้องมีการกระโดด

7. Flexibility ความยืดหยุ่นของร่างกายที่ไม่แข็งไม่อ่อนจนเกินไปในขณะที่รำกาต้า รู้จักผ่อนหนักผ่อนเบาซึ่งบางคนสังเกตได้ชัดเจนคือมีความเครียดทางกล้ามเนื้อนั้นคือเกร็งมากจนเกินไปสิ่งที่แก้ไขได้คือการใช้ลมหายใจช่วยในการผ่อนคลายอารมณ์ความตรึงเครียดในขณะนั้นได้

8. Focus and Concentration ความชัดเจนของท่าและเทคนิคที่ใช้ในการแข่งขันจะต้องมีความถูกต้องแม่นยำมีความตั้งใจที่จะแสดงออกมาโดยที่จิตใจไม่วอกแวกและมีสมาธิในขณะแข่งขัน ซึ่งหลายคนพลาดตรงจุดนี้เช่นกันบางคนซ้อมมาดีแต่พอเริ่มการแข่งขันกลับทำได้ไม่เหมือนตอนซ้อมเนื่องจากไม่มีสมาธิเพราะมัวแต่นึกถึงคู่เข้าแข่งขันและเสียงเชียร์สายตาจากผู้เข้าชมรอบด้าน บางครั้งอาจจะหยุดชะงักหรือไม่ก็ทำอะไรไม่ถูกเลยก็มี

9. Eyes and Face แววตาและใบหน้าที่แสดงออกมาจะต้องเปี่ยมไปด้วยพลังที่สามารถข่มขวัญคู่แข่งได้ จะต้องไม่ยิ้มรวมไปถึงสายตาที่จะต้องมองไปที่เบื้องหน้าโดยจินตนาการว่ามีศัตรูอยู่โดยใช้การแสดงออกทางใบหน้าให้กรรมการได้เห็นถึงความมุ่งมั่น แววตาไม่มองพื้นหรือมองไปรอบๆและจะต้องเปล่งเสียงร้องในจังหวะตะโกนจากท้องน้อยหรือที่เราเรียกว่าคิไอ(kiai)อย่างชัดเจนพร้อมกับหน้าตาที่เคร่งขึม

10. Good back up เป็นความสำคัญอย่างยิ่งว่าเราจะต้องรู้กฎและกติกาเบื้องต้นในท่ารำหรือกาต้าที่เราจะต้องใช้ในการแข่งขันรายการนั้นๆเนื่องจากว่าในแต่ละรายการท่ารำที่ใช้ย่อมแตกต่างกันไปบางรายการเป็นเอกลักษณ์เฉพาะ บางรายการใช้เป็นสากลหรือแม้แต่สไตล์เดียวกันแต่จังหวะกับท่าทางอาจจะแตกต่างกันเช่น JKF กับ IKGA, JKA กับ SKI


<<back to home